Home > Useful Information
 
 
 
      การตรวจในระหว่างที่เครื่องสูบทำงาน  
     

ระยะเวลาที่ต้องตรวจ และหลีกการตัดสินใจว่าเครื่องสูบทำงานผิดปกติหรือไม่ในระหว่างการทดสอบในสถานที่ใช้งาน หรือการทำงานประจำวัน มีดังต่อไปนี้

 
     

ในการทดสอบเครื่องสูบในสถานที่ใช้งานหรือเริ่มเดินเครื่องสูบที่ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน ต้องตรวจตามรายการดังต่อไปนี้

 
     
1.

อ่านเครื่องวัดความดันและเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า

 
1.


ความดันขาออกและความดันขาเข้าควนเกือบเท่าค่าที่กำหนดและต้องไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมามาก ๆ
ถ้ามีของแข็งไปอุดหรืออากาศถูกดูดเข้าไปในด้านดูด อาจจะทำให้เกิดความดันเปลี่ยนไปมาหรือ
ความดันตกปกติ
2. ควรตรวจว่ากระแสไฟฟ้าต่ำกว่าค่าที่กำหนดไว้บนแผ่นข้อมูลที่ติดอยู่กับมอเตอร์
และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้ามากมากผิดปกติ ถ้ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยู่ที่
ช่องแคบ ๆในเครื่องสูบ อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระแสไฟฟ้าผิดปกติก่อนที่เครื่องสูบ
จะฝืดจนหยุดหมุน
2. อุณหภูมิที่ส่วนอัดที่กันรั่ว และการรั่วของของเหลว
 
1. การรั่วจากส่วนอัดที่กันรั่วจะน้อยกว่าการหยดไม่ขาดตอนของเหลว (ประมาณ 0.05 cm 3/5)
ถ้ารั่วมากกว่านี้ควรค่อย ๆ ขันตัวอัดที่กั้นรั่วจนกระทั่งการรั่วถึงขั้นปกติ ถ้าขันแน่เกินไปอุณหภูม
ิที่ส่วนอัดที่กั้นรั่วจะสูงกว่าปกติมาก ในกรณีเช่นนี้ต้องคลายตัวอัดออกทันทีแล้วปล่อยให้เครื่องสูบ
ทำงานไป พักหนึ่งโดยยอมให้รั่วมาก แล้วจึงขันกลับไปให้แน่นหลังจากที่กันรั่วได้ แนบเข้าที่กับเพลาแล้ว


•

•
•
ถ้าการรั่วไม่หยุดเมื่อขันที่อัดจนแน่นและปล่อยให้ทำงานหลายชั่วโมงแล้วต้องเปลี่ยนที่กันรั่วใน
การเปลี่ยนที่กันรั่วต้องระวังในประเด็นต่อไปนี้
ต้องมีที่กันรั่วในจำนวนที่เพียงพอที่กันรั่วแต่ละอันต้องมีขนาดที่จะเข้าไปในระหว่าง
ปลอกเพลาและตัวเครื่องสูบพอดี
ในการใส่ที่กันรั่วต้องสอดคล้องกับทิศทางการหมุนของเพลา
สำหรับที่กันรั่วที่อยู่ติดกับรอยต่อต้องห่างกันเป็นมุม 90°องศา และจะต้องใส่และอัดที่กันรั่วเข้าไปทีละอัน
ถ้ารอยต่อของที่กันรั่วตรงกันของเหลวจะรั่วออกได้ง่ายกว่า
2. ถ้าใช้ที่กันรั่วเชิงกล จะถือได้ว่าทำงานปกติถ้ามองไม่เห็นการรั่ว ถึงแม้จะมรการรั่วเมื่อเริ่มเดินใหม่ ๆ ก็ควรให้ทำงานต่อไป ถ้าการรั่วหยุดก็ได้ถือว่าที่กันรั่วเชิงกลทำงานปกต
3. การตรวจรองลื่น
 
• ในกรณีที่ใช้การหล่อลื่นแบบแหวนน้ำมัน แหวงน้ำมันนั้นต้องหมุนเป็นปกติ
•
เมื่อแตะผิวนอกของเสื้อของรองลื่นด้วยมือต้องไม่ร้อนผิดปกติทั้งในกรณีรองลื่นแบบปลอกและรองลื่นแบบลูกปืน ถ้าวัดด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิจะถือว่าผิดปกติถ้าอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้องเกิน 40°C
4. ตรวจการสั่นสะเทือนและเสียง
 
• เมื่อใช้มือจับผิวของเสื้อเครื่องสูบต้องไม่รู้สึกการสั่นสะเทือนผิดปกติในการวัดที่เที่ยงต้องวัดขนาดของ
การสั่นสะเทือนโดย Vibrometer ที่ผิวนอกของเสื้อของรองลื่นเครื่องสูบและมอเตอร์ (ที่ส่วนบนของมอเตอร์ในกรณีที่เป็นเครื่องสูบเพลาตั้ง) ค่าที่วัดควรต่ำกว่า 30/1,000 mm (µm)สำหรับ 3,000 rpm (3,000 min) และต่ำกว่า 50/1,000 (50µm) สำหรับ 1,500 rpm (min-¹ )
• ต้องไม่มีเสียงผิดปกติเนื่องจากการเกิดโพรงหรือการรวนหรือเสียงผิดปกติที่เกิดจากการล่อลื่น
5. การตรวจงานต้านแรงรุย
  ในกรณีที่ใช้จานต้านแรงรุนในเครื่องสูบหลายตอนจะต้องไม่เกิดอุณหภูมิสูงเกินปกติที่
ห้องของจานต้านแรงรุนหรือที่ทางน้ำกลับ นอกจากนี้มักมีการทำเครื่องหมายไว้ที่ปลายเพลา
เพื่อให้ตรวจการสึกหรอของจานต้านแรงรุนได้จากภายนอกในระหว่างที่เครื่องสูบหยุดเดิน ถ้าการสึกหรอมากเกินพิกัดควรเปลี่ยนโดยเร็ว
6. การใช้อุปกรณ์วัด
  มีวาล์วสำหรับเครื่องวัด เช่น เครื่องวัดความดัน เครื่องวัดความดันลบ ฯลฯ ถึงแม้ว่าในการใช้งานมัก
จะเปิดวาล์วของเครื่องวัดไว้ตลอดเวลาก็ตามแต่การกระทำเช่นนี้อาจทำให้เครื่องวัดเที่ยงน้อยลงและ
ชำรุดเร็วถ้ามีการเปลี่ยนความดันโดยเร็วในระหว่างเริ่มเดินการหยุดหรือถ้ามีการเต้น
ของความดันในระหว่างการใช้งานจึงควรปิดวาล์วของเครื่องวัดไว้ตลอดเวลา ยกเว้นเมื่อ
ต้องการอ่านค่าจากเครื่องวัด
 
         
     
< Previous   Next >
 
     
 
Ishikawa Shoji Co., Ltd. อาคารญาดา ชั้น 6 ห้อง 6/1 เลขที่ 56 ถนน สีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 TEL : 02-235-2206-8 FAX : 02-235-2209
Copyrightright © 2006 Ishikawa Shoji Co., Ltd. All rights reserved.
Web Developed by Verizon