1.
|
การทำความสะอาดบ่อดูดและท่อดูด
ถ้าปฏิกูลฝุ่นผงหรือสะเก็ดซึ่งเข้าไปอยู่ในบ่อดูดหรือท่อดูดในระหว่างการก่อสร้างไหลตามน้ำเข้าไปในเครื่องสูบ
อาจเกิดการเสียหายอย่างมากได้ จึงต้องตรวจและกำจัดสิ่งไม่พึงปรารถนาทั้งหลายต้องระวังเป็นพิเศษสำหรับ
เครื่องสูบที่ใช้ที่กั้นรั่วเชิงกล ดังนั้นในบางกรณีจะใช้ที่กั้นรั่วชนิดอัดก่อน
หลังจากน้ำสะอาดดีแล้วจึงใช้ที่กั้นรั่วเชิงกล
|
|
|
2. |
การตรวจระบบไฟฟ้า
ต้องตรวจให้แน่ใจได้ว่าขนาดของที่ตัดวงจร
ค่าที่ตั้งไว้สำหรับรีเลย์ กระแสมากผิดปกติ
ขนาดและการต่อสายไฟเหมาะสมกับงาน สำหรับมอเตอร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งมอเตอร์ที่ต้องจุ่มน้ำ
ต้องวัดความต้านทานของฉนวนเพื่อให้แน่ใจว่ามีความต้านทานเพียงพอ |
|
|
3. |
การตรวจความตรงแนว
ควรตรวจและปรับความตรงแนวของเพลาของเครื่องสูบและเครื่องต้นกำลังตามวิธีมาตรฐาน
|
|
|
4. |
การตรวจน้ำมันหล่อลื่นสำหรับร่องลื่น
ตรวจดูว่าจารบีและน้ำมันสำหรับรองลื่นสะอาดและเพียงพอหรือไม่
|
|
|
5. |
การตรวจโดยการหมุนด้วยมือ
เพลาควรหมุนได้คล่องเมื่อหมุนด้วยมือ |
|
|
6. |
การตรวจท่อย่อย
เช่น ท่อน้ำหล่อเย็น
บรรดาวาล์วในระบบท่อย่อย เช่น ท่อน้ำหล่อเย็น
ท่อส่งน้ำให้ที่กันรั่วเชิงกล และท่อที่ทำให้ความดันสมดุลต้องเปิดเต็มที่
ปริมาณและความดันของน้ำหล่อเย็นและน้ำหล่อลื่นต้องเพียงพอ |
|
|
7. |
วาล์วควบคุมน้ำต้องเปิดเต็มที่ทางด้านดูด
ในกรณีที่แหล่งน้ำขาเข้าสูงกว่าเครื่องสูบวาล์ว
ควบคุมน้ำอยู่ทางด้านดูด วาล์วนี้ต้องเปิดเต็มที่ |
|
|
8. |
การเติมน้ำเพิ่มเริ่มเดินเครื่องสูบ
ต้องเติมน้ำให้เต็มเครื่องสูบก่อนเดินเครื่อง |
|
|
9. |
ก่อนอุ่นก่อน
(ทำให้เย็นก่อน) ของเครื่องสูบน้ำสำหรับน้ำร้อน
(เย็น)
สำหรับเครื่องสูบสำหรับอุณหภูมิสูง
(หรืออุณหภูมิต่ำ) ควรให้น้ำอุณหภูมิสูง (หรือต่ำ)
ค่อย ๆสัมผัสเครื่องสูบ เพื่อทำให้อุ่นก่อน
(หรือทำให้เย็นก่อน) เริ่มเดินเครื่องสูบ ในการอุ่นก่อน(หรือทำให้เย็นก่อน)
ควรทำให้อุณหภูมิของเครื่องสูบต่างจากอุณหภูมิระหว่างปฏิบัติงานไม่เกิน
25 ° C ถ้าการอุ่นก่อน (หรือทำให้เย็นก่อน)
ไม่เพียงพอ เครื่องสูบอาจเกิดการเสียดสีจนหมุนไม่ไปตรงส่วนที่มีช่องว่าง |
|
|
10. |
การตรวจทิศทางการหมุน
ตามปกติควรถอดแผ่นประกับต่อเพลา (
หรือในกรณีที่ใช่สายพานก็ถอดสายพาน) แล้วตรวจทิศทางการหมุน
โดยเดินเฉพาะเครื่องต้นกำลัง แต่สำหรับเครื่องสูบเล็ก
ๆ อาจตรวจทิศทางการหมุนโดยเปิดสวิทซ์ให้เครื่องสูบทำงานประมาณ
1 วินาที โดยไม่ต้องถอดแผ่นประกับ |
|
|
|
สำหรับเครื่องสูบจุ่มน้ำ
ต่อสายไฟฟ้าชั่วคราวก่อนแล้วเปิดวาล์วทางออกเล็กน้อย
แล้วเดินเครื่องสูบชั่วระยะเวลาสั้น ๆ โดยให้หมุนทางหนึ่งก่อนแล้วจึงหมุนกลับทางอ่านความดันที่ท่องอเหนือพื้นไว้ทิศทางการหมุนที่ให้ความดันขอออก
ที่สูงกว่าเป็นทิศทางที่ถูกต้อง |
|
|
11. |
การปิดเครื่องวาล์วทางออกเมื่อเดินเครื่องสูบ
การจะปิดหรือเปิดวาล์วควบคุมน้ำที่ทางออกของเครื่องสูบนั้นขึ้นกับประเภทเครื่องสูบ
(ขึ้นกับลักษณะของเส้นโค้งแสดงกำลังเพลา) จุดประสงค์คือความต้องการที่จะให้ใช้กำลังเพลาน้อยที่สูดในระหว่างเริ่มเดินเครื่อง
เครื่องสูบแรงหวี่ยง ปิดวาล์วทางออกอย่างสนิท
เครื่องสูบประเภทผสม ตามปกติวาล์วทางออกปิดปกติ
เครื่องสูบประเภทไหลตามแนวแกน เปิดวาล์วทางออกเต็มที่
เครื่องสูบจุ่มน้ำ เริ่มเดินเครื่องหลังจากเปิดวาล์วทางออกเล็กน้อยเพื่อให้อากาศที่ค้างอยู่ในท่อออกได้ง่าย
ในการเริ่มเดินเครื่องโดยปิดวาล์วทางออกอย่างสนิท
เช่น กรณีเครื่องสูบแรงเหวี่ยง ควรค่อย ๆเปิดวาล์วทางออกจนกระทั่งได้หัวตามที่ต้องการ
ถ้าปล่อยให้เครื่องสูบเดินอยู่นานโดยวาล์วทางออกปิดอยู่
พลังงานจากเครื่องต้นกำลังจะไปทำอุณหภูมิของเหลวในเสื้อเครื่องสูบสูงขึ้นจนทำให้เกิดปัญหาต่าง
ๆได้ ดังนั้น
ระยะเวลาที่ปิดวาล์วต้องไม่เกิน 5 นาที |