Home > Useful Information
 
 
 
      การบำรุงรักษา  
     

การตรวจสอบเป็นครั้งคราว

 
     
เพื่อให้สามารถบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำเพื่อรักษาการทำงานของเครื่องสูบให้สม่ำเสมอตลอดชีวิตการทำงาน จึงจำเป็นต้องให้บริการบำรุงรักษาที่เหมาสม ซึ่งโดยปกติแล้วควรดำเนินการบำรุงรักษาที่เหมาะสม ซึ่งโดยปกติแล้วควนดำเนินการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้เครื่องมือ และอุปกรณ์ทำงานได้ถูกต้องตลอดเวลา
การบำรุงรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ ทำได้ทั้งการจัดซ่อมบำรุงตามกำหนดเวลา และการซ่อมบำรุงตามอายุเป็นชั่วโมงการทำงาน
สำหรับเครื่องมอเตอร์ไฟฟ้าที่เป็นต้นกำลังเครื่องสูบน้ำถ้าจะได้ทำงานได้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องก็ควรมีการรักษา
ตามกำหนดเวลา
สำหรับเครื่องสูบน้ำที่มีต้นกำลังเป็นเครื่องยนต์ การตรวจสอบเป็นครั้งคราวนั้นจำเป็นมาก แต่ควรเป็นไปตามกำหนดที่ผู้ผลิตเสนอแนะไว้ การตรวจสอบตามข้อคำแนะนำของผู้ผลิตนี้ใช้ได้กับอุปกรณ์อื่น เช่น กล่องเกียร์ ลดความเร็วรอบ ประตูน้ำที่ปฏิบัติงานด้วยไฟฟ้า ฯลฯ ได้ด้วย
      ปัญหาใหญ่ และวิธีแก้ไข  
      ในช่วงหยุดเดินเครื่องสูบน้ำเพื่อบำรุง เราอาจพบปัญหาต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นตามสภาพการใช้งาน ปัญหาเหล่านี้ควรตรวจให้พบเสียก่อน แต่ยังเกิดไม่มากนัก เช่น ระหว่างการตรวจสอบเป็นระยะเพื่อบำรุงรักษาเครื่อง และวิธีการแก้ไขมีดังต่อไปนี้  
     
1. การสั่นสะเทือนของเครื่องสูบ
 
     
  การตรวจดูการสั่นของเครื่องระหว่างเดินเครื่อง ดูได้จากเพลาและร่องลื่นรับเพลา และที่ส่วนบนของเครื่อง ซึ่งสามารถวัดความถี่ และขนาดการสั่นสะเทือนด้วยเครื่องมือวัดความสั่น จะแสดงช่วงการสั่นสะเทือนที่ยอมให้ ณ ความเร็วรอบต่าง ๆ ของเครื่องสูบน้ำตามมาตรฐาน JIS V8301 การสั่นแบ่งออกได้เป็น

การสั่นตามความถี่ซึ่งไปกันได้กับความเร็วของรอบเครื่อง
การสั่นซึ่งมีความถี่เป็นหลายเท่าของความเร็วรอบ
     

การตรวจดูเครื่องสูบ

 
     
ช่วงเวลา ข้อควรตรวจ ข้อสังเกต
ทุกวัน
  •
•
•
ตรวจ น้ำรั่ว เครื่องสูบมีเสียงดัง และมีการสั่นเกิดขึ้น
ตรวจอุณหภูมิที่มีร่องลื่นรับเพลา
ตรวจเชือกอัดแกลนด์
 
  •
•

ยอมให้มีน้ำน้ำรั่วได้ 1 หยด ใน 1 วินาที
ไม่ควรเกินอุณหภูมิปกติ บวกอีก 40 องศาเซลเซียส

 
ทุกเดือน
  •
•
ตรวจน้ำมันหล่อลื่น ร่องลื่นรับเพลา
ตรวจเชือกอัดแกลนด์
 
  •
•

ระดับน้ำมันต้องได้ระดับ
ตรวจการสึกหรอแล้วไม่สึกหรอมาก

 
ทุก 6 เดือน
  •
•
•

ตรวจเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นร่องลื่น
ตรวจเปลี่ยนผ้าอัลแกลนด์ ขันน๊อตให้แน่นตรวจอุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ

 
  •
•
•

ตรวจน้ำมันให้ได้ระดับ
ตรวจความแน่นที่ผ้าอัด
แกลนด์อย่าให้แน่นจนเกินไป

 
ทุก 1 ปี
  •
ตรวจซ่อมบำรุงใหญ่  
  •
•

ตรวจการสึกหรอของชิ้นส่วนที่เบียนกันได้
ตรวจการผุกร่อนกัดกร่อนของสว่านที่เปียกน้ำ
ได้อย่างละเอียด

 
 
     

การตรวจเครื่องมอเตอร์ไฟฟ้า

 
     
ช่วงเวลา ข้อควรตรวจ ข้อสังเกต
ทุกวัน
  •
•

ระดับเสียงการสั่นสะเทือนของเครื่อง
ระดับอุณหภูมิของตุ๊กตารับเพลา

 
  •
•
•

ไม่เกินระดับปกติ
ควรเป็นอุณหภูมิอากาศ บวกอีก 40 องศาเซลเซียส

 
ทุกเดือน
  •

การเคลื่อนไฟของแปลงพ่วงแหวนเลื่อน  
  •

เฉพาะมอเตอร์แบบแกนหมุนพันด้วย
สายไฟเท่านั้น

 
ทุก 6 เดือน
  •
•
•

น้ำมันหล่อลื่นร่องลื่นรับเพลา ความต้านทานของเครื่องป้องกันไฟรั่ว
ตรวจสอบเครื่องป้องกันต่าง ๆ

 
  •

ตรวจระดับน้ำมัน ควรเป็น 1 m
สำหรับ 600 v หรือน้อยกว่า และ
3 m เมื่อมากกว่า 600 v

 
ทุก 1 ปี
  •
ตรวจและเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นร่องลื่น  
  •

ตรวจระดับหลังเปลี่ยน

 
 
         
     
< Previous   Next >
 
     
 
Ishikawa Shoji Co., Ltd. อาคารญาดา ชั้น 6 ห้อง 6/1 เลขที่ 56 ถนน สีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 TEL : 02-235-2206-8 FAX : 02-235-2209
Copyrightright © 2006 Ishikawa Shoji Co., Ltd. All rights reserved.
Web Developed by Verizon