Home > Useful Information
 
 
 
      ขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อเดินเครื่องสูบ  
      การเตรียมการ  
     

1.

2.

3.

4.
5.

ก่อนจะเริ่มเดินเครื่องครั้งแรก หรือเดินเครื่องสูบครั้งต่อไป จะต้องเตรียมการดังต่อไปนี้
ตรวจสอบทางเดินของของไหล ต้องดูว่าถึงพักน้ำรอสูบสะอาดและใส่ของไหลที่จะสูบไปเรียบร้อยแล้วขันข้อต่าง ๆ ของระบบท่อให้แน่น เพื่อกันน้ำรั่ว
การตรวจสอบน้ำมันหล่อลื่น ตรวจสอบปริมาณของน้ำมันหล่อลื่นด้วยเกจ์วัดระดับน้ำมันหล่อลื่น ทั้งของเครื่องสูบน้ำและของเครื่องต้นกำลัง
การตรวจสอบแหล่งพลังงาน สำหรับเครื่องสูบน้ำที่มีต้นกำลังเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า ต้องตรวจระบบสายไฟและระบบไฟก่อนเครื่องป้องกัน ตัดไฟทุกตัวต้องพร้อมทำงาน
อุปกรณ์และเครื่องมือวัด ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆให้อยู่ในสภาพใช้งานได้
การทดลองเดินเครื่อง เครื่องสูบก่อนใช้งานจริง ต้องลองเดินเครื่องดูตามขั้นตอนต่อไปนี้

  • ตรวจสอบว่าประตูน้ำในท่อส่งปิด (ระวัง : ใยสูบน้ำแบบไหลตามแกน ต้องปิดประตูน้ำในท่อส่งไว้ก่อน)
• ตรวจสอบระดังของไหลในถังพักของไหลรอสูบ หรือแรงดันด้านดูดว่าปรกติ
• เปิดระบบกันของเหลวรั่ว การหล่อลื่น และการหล่อเย็นให้เรียบร้อย
• เอาน้ำเข้าท่อดูด้วยสุญญากาศ(ถ้าจำเป็น)
• ตรวจสอบว่ามีน้ำในท่อดูดเต็มจนถึงในเครื่องสูบ
• เดินเครื่องต้นกำลัง
• ตรวจดูว่าความดันในท่อส่งขึ้นถึงขีดกำหนดไว้ หลังจากที่เดินเครื่องจนได้ความเร็วรอบที่กำหนดแล้วเปิดประตูน้ำในท่อส่ง   แล้วตรวจดูค่าความดันซึ่งจะต้องบอยู่ในช่วงการปฏิบัติงานของเครื่องสูบ
การเดินเครื่องและหยุดเครื่อง
การเดินเครื่องและหยุดเครื่องต้องทำตามขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานปรกติ ในกรณีที่มีเครื่องควบคุมการปฏิบัติตั้งติดไว้ด้วย ก็สามารถเดินเครื่องได้ตามอัตโนมัติ แต่ถ้าไม่มี ต้องปฏิบัติตามขั้นต่อดังต่อไปนี้
1.

ขั้นตอนการเดินเครื่อง

  • ตรวจสอบว่าประตูน้ำในท่อส่งปิด (ระวัง : ใยสูบน้ำแบบไหลตามแกน ต้องปิดประตูน้ำในท่อส่งไว้ก่อน)
• ตรวจสอบว่าเครื่องต้นอยู่ในสภาพพร้อมที่จะเดินเครื่องได้ ตรวจสอบระดังของไหลในถังพักของไหลรอสูบ
  หรือแรงดันด้านดูดว่าปรกติ
• เปิดระบบกันของเหลวรั่ว การหล่อลื่น และการหล่อเย็นให้เรียบร้อย
• เอาน้ำเข้าท่อดูด้วยสุญญากาศ(ถ้าจำเป็น)
• ตรวจสอบว่ามีน้ำในท่อดูดเต็มจนถึงในเครื่องสูบ
• เดินเครื่องต้นกำลัง
• ตรวจดูว่าความดันในท่อส่งขึ้นถึงขีดกำหนดไว้ หลังจากที่เดินเครื่องจนได้ความเร็วรอบที่กำหนดแล้ว
• เปิดประตูน้ำในท่อส่ง แล้วตรวจดูค่าความดันซึ่งจะต้องบอยู่ในช่วงการปฏิบัติงานของเครื่องสูบ
2. ขั้นตอนการหยุดเครื่อง
  • ปิดประตูน้ำที่ท่อดูด (ระวัง : ในสูบน้ำแบบไหลตามแกน ต้องเปิดประตูน้ำด้านท่อดูดไว้ก่อน)
• หยุดเดินเครื่องต้นกำลัง
• เปิดประตูกันสุญญากาศ(ถ้ามี)
• ปรับเครื่องต้นกำลังให้อยู่ในสภาพพร้อมเดินเครื่องใหม่
• เมื่อหยุดเดินเครื่อง ก็หยุดการป้องกันน้ำรั่ว การหล่อลื่น และการหล่อเย็น
3. ข้อควรระวังเมื่อหยุดเครื่องนาน ๆ เมื่อเครื่องสูบต้องหยุดเดินเครื่องเป็นเวลานาน เช่น เกินหนึ่งเดือน จะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
 

• ระบายของไหล หรือ น้ำในเครื่องสูบออกให้หมด
• คลายเชือกอัดในแกลนด์
• ทาสารกันสนิมที่ผิวที่อาจเกิดสนิมได้
• เดินเครื่องอุ่นมอเตอร์ (ถ้ามี)

 
เพื่อให้สมารถซ่อมบำรุงเครื่องสูบให้ทำงานได้ดี เราเสนอแนะว่า ควรหยุดเครื่องเพื่อตรวจสอบบำรุงอย่างน้อยเดือนละครั้ง
ในกรณีที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำสำรองไว้ด้วย ก็ต้องตรวจสอบบำรุงรักษาเครื่องสำรองด้วยเช่นกัน ควรตรวจสอบเครื่องที่เดินใช้งานสลับกับเครื่องที่ทำงานได้ดี อายุการใช้งานพอกัน

การจดข้อมูล

  การเดินเครื่องสูบน้ำตลอดเวลา ควรมีการจดข้อมูลการปฏิบัติงานทุกวัน เพื่อจะได้สังเกตสภาพการปฏิบัติงาน และดูการเปลี่ยนแปลที่อาจเกิดขึ้น ถ้าสามารถจับสภาพการปฏิบัติงานที่ผิดปรกติได้เสียตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็สามารถเตรียมการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรัดได้ทัน ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้น ข้อมูลที่จดไว้ก็อาจเป็นประโยชน์ในการหาสาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
โดยการตรวจสอบแนวโน้มการใช้กำลังงาน เปรียบเทียบกับที่ต้องการ เราอาจสังเกตการเปลี่ยนแปลของปฏิบัติงานของเครื่องสูบ อันเนื่องมาจากการเกิดการสึกหรอของชิ้นส่วนที่อยู่ภายในได้
การตรวจสอบวัดและเก็บข้อมูลนี้จำเป็นต้องกำหนดเป็นระยะไป โดยช่วงการจดตั้งแต่วันละครั้งขึ้นไปจนถึงวันละ 4 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่ชนิดและการใช้งานของเครื่อง
 
         
     
< Previous   Next >
 
     
 
Ishikawa Shoji Co., Ltd. อาคารญาดา ชั้น 6 ห้อง 6/1 เลขที่ 56 ถนน สีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 TEL : 02-235-2206-8 FAX : 02-235-2209
Copyrightright © 2006 Ishikawa Shoji Co., Ltd. All rights reserved.
Web Developed by Verizon